Narcissist-Grandiose (oblivious) Subtype ของ ความรู้สึกว่าตนเขื่อง

ความรู้สึกว่าตนเขื่องขั้นเป็นโรคสัมพันธ์กับแบบย่อยอย่างหนึ่งจากสองแบบของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (NPD)[6]ลักษณะของแบบย่อย narcissist-grandiose (โดยเทียบกับแบบย่อย narcissist-vulnerable) ก็คือ

  • หลงตัวเองแบบไม่รู้ตัว (oblivious narcissist) เพราะไม่รู้ว่าการกระทำของตนมีผลต่อคนอื่นอย่างไร หรือว่า คนอื่นมองตนอย่างไร
  • เห็นแต่ข้อไม่ดีของผู้อื่นและตำหนิผู้อื่นที่คุกคามความภูมิใจในตนเอง
  • มักจะรักษาความภูมิใจในตนด้วยการยกยอตนเองอย่างโต้ง ๆ (โม้เกินจริงว่าเก่ง หรือโม้เกินจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เพื่อแสดงว่าตนเองเก่ง)
  • ปฏิเสธจุดอ่อน กล่าวถึงความสามารถของตนเกินจริง
  • เที่ยวบังคับคนอื่นในขณะที่ทั้งตำหนิการกระทำของคนอื่นและเอาเครดิตสิ่งที่คนอื่นทำ
  • ต้องการสิทธิพิเศษเกินควร รู้สึกว่าตนพิเศษ เช่นใช้คำพูดว่า "คุณไม่รู้หรือว่าฉันคือใคร" เชื่อเกินจริงเกี่ยวกับความสำคัญ ความเก่ง ความสำเร็จ หรือความสามารถของตนเอง มีพฤติกรรมเชิงเจ้าเล่ห์เพทุบายเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ และหวังให้คนอื่นเชื่อฟัง ชื่นชม และให้สิทธิพิเศษแก่ตน หมกมุ่นใน "ความเพ้อฝันเกี่ยวกับความสำเร็จ อำนาจ ความฉลาดหลักแหลม รูปงาม หรือคู่ที่สมบูรณ์แบบ"
  • โกรธอย่างคงเส้นคงวาเมื่อไม่ได้ตามที่คาดหวังหรือเมื่อรู้สึกถูกดูหมิ่น โกรธเดือดดาลได้ง่าย มีปฏิกิริยารุนแรงเกิน อาจแสดงความดุร้ายเมื่อรู้สึกถูกดูหมิ่นแม้เพียงแล็กน้อย
  • ไม่สำนึกถึงความไม่ลงรอยของสิ่งที่ตนคาดหวังกับความจริง และไม่รู้ผลที่มันมีต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น
  • พูดถึงความเพ้อฝัน ความร่ำรวย ความสำเร็จ และสถานะที่ใหญ่โตเกินความจริงอย่างโต้ง ๆ
  • ไม่รู้ว่าความต้องการได้สิทธิพิเศษ (เช่นใช้เงินเกิน เอาเปรียบผู้อื่น) ทำให้คนอื่นมองตนไม่ดี
  • ปัญหาที่เกิดรอบ ๆ ตัวจะมองว่าไม่ได้เกี่ยวกับตน (คือไม่ใช่ความผิดของตน) และไม่ได้มีมูลฐานมาจากความคาดหวังที่ไม่สมเหตุผลของตน

มีการศึกษาความแตกต่างระหว่างแบบย่อย grandiose (เขื่อง) กับ vulnerable (อ่อนไหว) โดยพบว่า

สิ่งที่พบโดยรวมนี้ยืนยันทฤษฎีและงานวิจัยในอดีตที่แสดงว่า คนไข้แบบเขื่องไม่รู้ถึงผลที่ตนมีกับผู้อื่น และดังนั้น จึงมีทัศนคติที่ไม่สมจริงเกี่ยวกับตนเองเทียบกับคนอื่น (Gabbard, 1989, 1998; Kernberg, 1975; Kohut, 1971, 1977).จริงดังนั้น การไม่รู้ถึงผลที่มีต่อคนอื่นเป็นสิ่งที่ Gabbard (1989) นำป้าย "oblivious narcissists" (คนหลงตัวเองแบบไม่รู้ตัว) มาอธิบายอาการที่ปรากฏทางสังคม และแยกคนไข้ให้ต่างกับคนไข้แบบอ่อนไหวคนไข้หลงตัวเองแบบเขื่องหวังให้คนอื่นสนใจตนตลอดโดยไม่วอกแวก และไม่รู้ผลที่ความต้องการสิทธิพิเศษของตนมีต่อคนอื่นและเพราะสามารถธำรงรักษาภาพพจน์ว่าตนเขื่องด้วยการยกยอตนเอง คนไข้หลงตัวเองแบบเขื่องจึงไม่อ่อนไหวเท่ากับคนไข้แบบอ่อนไหว ต่อผลทางอารมณ์ที่เกิดจากการคุกคามการคาดหวังสิทธิพิเศษ (เช่น ความทุกข์ ไม่ภูมิใจในตนเอง กลัวปัญหากับผู้อื่น)

– Interpersonal Analysis of Grandiose and Vulnerable Narcissism[7]

ส่วนย่อยเกี่ยวกับความคิดว่าตนเขื่องในแบบสัมภาษณ์คนไข้โรคหลงตนเอง คือ Diagnostic Interview for Narcissism (DIN) ฉบับที่สองเป็นไปดังต่อไปนี้[8]

  1. คนไข้โอ้อวดพรสวรรค์ ความสามารถ และความสำเร็จเกินจริง
  2. คนไข้เชื่อว่าตนไม่มีจุดอ่อน ไม่รู้ข้อจำกัดของตน
  3. คนไข้มีความเพ้อฝันที่ใหญ่โตเกินเหตุผล
  4. คนไข้เชื่อว่า ตนไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้อื่น
  5. คนไข้พิจารณาและลดความสำคัญของคนอื่น โปรเจ็กต์อื่น ความเห็นอื่น หรือความฝันของคนอื่นอย่างจุกจิกและไม่สมจริง

  1. คนไข้มองตัวเองว่าเป็นหนึ่งเดียวหรือพิเศษเมื่อเทียบกับผู้อื่น
  2. คนไข้พิจารณาตนเองโดยทั่วไปว่า เหนือกว่าคนอื่น
  3. คนไข้ประพฤติเอาแต่ใจตัวและยกย่องแต่ตัว
  4. คนไข้ประพฤติโอ้อวดหรือวางท่า

ใกล้เคียง

ความรัก ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ความรู้สึกต่อต้านไทย ความรุนแรงต่อสตรี ความร้อน ความรู้สึกว่าตนเขื่อง ความรู้สึก ความรู้